เมนู

โดยการตั้งอยู่ตลอดกัป
โดยปากะ (ผลของกรรม)
โดยสาธารณะ


วินิจฉัย ว่าโดยกรรม


ในคำเหล่านั้น ว่าโดยกรรมก่อน. จริงอยู่ในอนันตริยกรรมนี้ เมื่อ
เป็นมนุษย์นั่นแหละแกล้งปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ ผู้มีเพศไม่
เปลี่ยนแปลง1 (ฆ่ามารดาบิดา) อนันตริยกรรมย่อมมีแก่เขา. มนุษย์ผู้ทำกรรม
นั้น คิดว่า เราจักห้ามวิบากของอนันตริยกรรมนั้น ดังนี้ จึงยังจักรวาลทั้งสิ้น
ให้เต็มด้วยพระสถูปอันสำเร็จแล้ว ด้วยทองคำมีประมาณเท่ามหาเจดีย์ก็ดี ยัง
ภิกษุสงฆ์ผู้นั่งตลอดจักรวาลแล้วถวายมหาทานก็ดี จับชายผ้าสังฆาฏิของพระผู้-
มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วเที่ยวไปก็ดี ก็ย่อมเกิดในนรกนั่นแหละ เพราะกาย
แตก. แต่ว่า ผู้ใดเป็นมนุษย์แกล้งปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉาน
หรือว่า ตนเองเป็นสัตว์เดรัจฉานปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ หรือ
เป็นสัตว์เดรัจฉานนั่นแหละปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉานให้ตกล่วงไป
กรรมของผู้นั้นไม่เป็นอนันตริยกรรม. แต่ก็เป็นกรรมอันหนัก ย่อมตั้งอยู่จด
อนันตริยกรรมนั่นแหละ. ปัญหานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถ
แห่งสัตว์ผู้เกิดเป็นมนุษย์.
ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึง หมวด 4 แห่งการฆ่าแพะ หมวด 4
แห่งสงคราม และหมวด 4 แห่งการฆ่าโจร ดังนี้ คือ

ก็มนุษย์ผู้ยังมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้แพะให้ตาย
แม้ด้วยความมุ่งหมายว่า เราจักฆ่าแพะ ดังนี้ ย่อมได้รับอนันตริยกรรม. ก็

1. หมายความว่าเพศของบิดามารดาตั้งอยู่โดยปกติมิได้เปลี่ยนไปเป็นสัตว์เดียรฉาน

มีเจตนาฆ่าแพะ1 แพะนั้นตายก็ดี เจตนาฆ่ามารดา2บิดา แต่แพะตายก็ดี
ย่อมไม่ได้รับอนันตริยกรรม. เจตนาฆ่ามารดาบิดา ยังมารดาบิดาให้ตายอยู่
ย่อมได้รับอนันตริยกรรมแน่นอน. ในหมวดทั้งสองที่เหลือนอกนี้ ก็นัยนี้แหละ.
ก็ใน มารดาและบิดาเป็นต้น ฉันใด แม้การฆ่าพระอรหันต์ ก็ฉันนั้น.
บัณฑิตพึงทราบหมวด 4 แห่งการฆ่าพระอรหันต์ ต่อไป.
ก็บุคคล ยังพระอรหันต์ผู้เป็นมนุษย์เท่านั้นให้ตาย ย่อมได้รับอนัน-
ตริยกรรม ยังพระอรหันต์ผู้เป็นยักษ์ให้ตาย ย่อมไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่
ก็เป็นกรรมอันหนัก เช่นกับอนันตริยกรรมนั่นแหละ. อนึ่ง เมื่อบุคคลประหาร
ด้วยศัสตรา หรือแม้แต่ให้ยาพิษในกาลที่ท่านยังเป็นมนุษย์ปุถุชนนั่นแหละ ถ้า
ว่า ท่านบรรลุพระอรหัตแล้วก็ปรินิพพาน (ตาย) ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ
ย่อมเป็นอรหันตฆาตทีเดียว. แต่ทานที่บุคคลถวายในกาลที่ท่านยังเป็นปุถุชน
อยู่ ครั้นท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วจึงฉันอาหารนั้น อาหารที่ถวายแล้ว
ในกาลนั้น ย่อมชื่อว่าถวายแก่ปุถุชนเท่านั้น เมื่อบุคคลฆ่าพระอริยบุคคลที่เหลือ
(มีพระอินทร์เป็นต้น ) ย่อมไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม แต่ก็เป็นกรรมอันหนัก
เช่นกับอนันตริยกรรมเหมือนกัน.
ในโลหิตตุปบาท ชื่อว่า การไหลออกแห่งพระโลหิตเพราะการตัด
ซึ่งธรรม (รูปธรรม) โดยการรุกรานของข้าศึกด้วยการทำให้กายแตกไปแห่ง
พระตถาคต ย่อมไม่มี. แต่จะมีก็เพียงโลหิตในที่หนึ่ง ประชุม (รวมกัน) ใน
ภายในแห่งพระสรีระเท่านั้น. แม้สะเก็ดอันแตกไปแล้ว จากศิลาอันพระเทวทัต
กลิ้งไปประหารที่สุดปลายพระบาทของพระตถาคต. พระบาทได้มีเพียงพระโลหิต

1. เจตนาฆ่าแพะโดยสำคัญว่าเป็นมารดาบิดา
2. เจตนาฆ่ามารดาบิดาโดยสำคัญว่าเป็นแพะ

ห้อขึ้นภายในเท่านั้น การกระทำนั้นราวกะบุคคลประหารแล้วด้วยขวาน. เมื่อ
พระเทวทัตทำอยู่เช่นนั้น อนันตริยกรรมก็ได้มีแล้วแก่เขา.
ส่วนหมอชีวก ทำการผ่าตัดพระฉวี (ตัดหนัง) ของพระตถาคต ด้วย
มีดตามชอบใจ แล้วนำพระโลหิตอันโทษประทุษร้ายออกจากที่นั้น ได้ทำให้
ผาสุก. เมื่อหมอชีวกทำอยู่อย่างนั้นบุญกรรมเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้น.
อนึ่ง เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ชนเหล่าใด ย่อมทำลายพระ-
เจดีย์ ย่อมตัดซึ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ย่อมเหยียบย่ำพระธาตุ กรรมอะไร ย่อม
มีแก่ชนเหล่านั้น. กรรมอันหนักเช่นกับอนันตริยกรรม ย่อมเกิดแก่เขา. ก็แล
บุคคลย่อมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์อันเบียดเบียนพระสถูปบรรจุพระธาตุพระรูป-
ปฏิมากร (รูปจำลอง) หรือแม้ถ้าพวกนกทั้งหลายแอบแฝงที่ต้นมหาโพธิ์นั้น
ย่อมถ่ายวัจจะ (อุจจาระ) ตกลงไปที่พระเจดีย์ จึงสมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์
นั้นทีเดียว. เพราะว่า สรีรเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ) ใหญ่กว่าบริโภค
เจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุของใช้ของพระพุทธเจ้า) การตัดแม้ที่โคนต้นโพธิ์อัน
ทำลายวัตถุเจดีย์ นำออกไปก็ควร. ก็กิ่งแห่งต้นโพธิ์ใด ย่อมเบียดเบียนเรือน
โพธิ์ ไม่ควรตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อรักษาเรือนโพธิ์เอาไว้ จริงอยู่ เรือน เพื่อประ-
โยชน์แก่ต้นโพธิ์มีอยู่ ไม่ควรตัดต้นโพธิ์เพื่อประโยชน์แก่เรือน. แม้ในเรือน
อาสนะ (ที่เก็บพระธาตุ) ก็นัยนี้. แต่พระธาตุอันบุคคลรักษาไว้ที่เรือนอาสนะใด
เพื่อต้องการรักษาเรือนอาสนะนั้น ควรเพื่อตัดกิ่งโพธิ์. และเพื่อต้องการรักษา
ต้นโพธิ์ไว้ สมควรตัดกิ่งที่นำโอชะออกไป หรือที่เน่า (ที่เสีย) นั่นแหละ.
แม้บุญก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น เช่นการปฏิบัติต่อพระสรีระ.
ในสังฆเภท เมื่อสงฆ์อยู่ในสีมาไม่ประชุมกันแล้ว การแตกแห่ง
สงฆ์ด้วย อนันตริยกรรมด้วย ย่อมมีแก่ผู้กล่าวประกาศให้จับสลากกระทำแล้ว

เพราะถือเอาบริษัทเป็นคนละพวกกระทำอยู่ซึ่งกรรม หรือสวดอยู่ซึ่งอุทเทส.
ก็เมื่อทำกรรม หรือสวดอุทเทส ด้วยความสำคัญว่ามีความพร้อมเพรียงกันจึง
ควรทำ. จริงอยู่ เมื่อทำกรรมด้วยสัญญาแห่งความพร้อมเพรียงกัน ความ
แตกแห่งสงฆ์ และอนันตริยกรรม ย่อมไม่มี. โดยทำนองเดียวกัน ทำกรรม
โดยฟื้นฟูบริษัทใหม่ ก็สมควร. บรรดาชนผู้ใหม่ กำหนดต่ำสุดกว่าทุกคน
(ผู้ยังไม่รู้) คนใดย่อมทำลายสงฆ์ อนันตริยกรรมก็ย่อมเกิดแก่เขา. กรรมอัน
มีโทษมาก ย่อมเกิดแก่อธรรมวาทีทั้งหลายผู้เป็นข้าศึกต่อสงฆ์. กรรมอันไม่มี
โทษ ย่อมเกิดแก่ธรรมวาที.
ในข้อนั้น สูตรในสังฆเภทของผู้ใหม่นั่นแหละ ดังนี้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้จับสลาก 4 รูปพวกหนึ่ง อีก 4 รูปพวกหนึ่ง
ภิกษุผู้ใหม่ย่อมประกาศให้ถือเอาสลากว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
สัตถุศาสน์เป็นต้น ท่านทั้งหลายจงถือเอาฉลากนี้ จงชอบใจคำนี้ ด้วยอาการ
อย่างนี้แล ดูก่อนอุบาลี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ และความแตกแห่งสงฆ์ด้วย
ย่อมมีแก่ผู้ใหม่ยิ่ง ดังนี้ ก็บรรดาอนันตริยกรรม 5 อย่าง สังฆเภทเท่านั้น
เป็นวจีกรรม ที่เหลือเป็นกายกรรม พึงทราบวินิจฉัยว่าโดยกรรมด้วยประการ
ฉะนี้.

วินิจฉัย ว่าโดยทวาร


คำว่า ว่าโดยทวาร ก็กรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมตั้งขึ้นแต่กายทวาร
บ้าง แต่วจีทวารบ้าง แต่ในอนันตริยกรรม 5 นั้น อนันตริยกรรม 4 ใน
ก่อน (เว้นสังฆเภท) แม้ตั้งขึ้นแล้วแต่วจีทวารด้วยสามารถแห่งปโยคะอันสำเร็จ
ด้วยวิชชาโดยใช้ให้ทำ ก็ย่อมยังกายทวารนั้นแหละให้เต็มด้วยสังฆเภท. เมื่อ